logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • เรื่องของสมองที่คุณอาจยังไม่รู้

เรื่องของสมองที่คุณอาจยังไม่รู้

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 30 กันยายน 2563
Hits
4211

          แม้ว่าอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) จะเคยกล่าวว่า ทุกคนล้วนเป็นอัจฉริยะ แต่สมองก็ยังคงเป็นอวัยวะที่ซับซ้อนที่สุดที่มนุษย์ยังคงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจอวัยวะส่วนนี้อยู่เสมอ

          ไม่เพียงแค่สมองจะควบคุมระบบการหายใจ การทำงานของอวัยวะและการเคลื่อนไหว แต่ยังอยู่เบื้องหลังกระบวนการที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างการควบคุมพฤติกรรม ความคิด อารมณ์ ตลอดจนการสร้างความทรงจำ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาอาจเป็นเพียงข้อมูลบางส่วนที่คุณรู้ และยังคงมีอีกหลายสิ่งที่หลายคนยังคงไม่รู้เกี่ยวกับสมอง

11470 1

ภาพแสดงระบบการทำงานภายในสมองที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
ที่มา https://pixabay.com ,OpenClipart-Vectors

 

สมองทำงานตลอดเวลา

          กลีบสมองของมนุษย์ (Lobes of the brain) แบ่งออกเป็น 4 กลีบ ได้แก่ สมองส่วนหน้า ( frontal lobes) ซึ่งตั้งอยู่ด้าน ในตำแหน่งของหน้าผาก ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความจำ ความคิด และศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ  สมองกลีบขมับ (Temporal Lobe) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้กลิ่นและการได้ยิน  สมองกลีบข้าง (Parietal lobe) ตั้งอยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรู้สึกตัว และเป็นศูนย์ควบคุมการรับความรู้สึก และสมองกลีบท้ายทอย (Occipital Lobe) มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการมองเห็น และการประมวลผลภาพ นอกจากนี้สมองแต่ละกลีบยังแบ่งยังออกเป็นพื้นที่เฉพาะ (individual region) ที่ทำหน้าที่เฉพาะ เช่น โบรคา (broca’s area) เป็นส่วนของสมองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับภาษา เป็นต้น จะเห็นได้ว่า แต่ละส่วนของสมองทำหน้าที่แตกต่างกันเพื่อให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ และสมองทำงานตลอดเวลาแม้ในขณะหยุดพักหรือนอนหลับ

          นักวิจัยมีความพยายามในการทำการศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่การทำงานเฉพาะของสมองมากขึ้น เนื่องด้วยมีความสำคัญทั้งในด้านการวิจัย และสำหรับการรักษาผู้ป่วยโดยการผ่าตัด

เลือดประมาณร้อยละ 20 ของร่างกายไหลเวียนไปยังสมอง

          เนื้อเยื่อของสมองอาศัยออกซิเจนช่วยในการทำงานเช่นเดียวกับเซลล์เนื้อเยื่อที่อวัยวะอื่นๆ  โดยขณะพัก สมองจะได้รับเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจร้อยละ 15-20 แต่อาจมีปัจจัยในเรื่องของอายุ เพศ และน้ำหนักที่ส่งผลกระทบต่อการได้รับเลือดที่แตกต่างกัน

          สำหรับผู้ชาย โดยเฉลี่ยแล้วการเต้นของหัวใจ 1 ครั้งจะสูบฉีดเลือดทั่วร่างกายปริมาณ 70 มิลลิลิตร ดังนั้นจะมีเลือดประมาณ 14 มิลลิลิตรที่สูบฉีดไปยังสมอง ซึ่งเป็นปริมาณเลือดที่จำเป็นสำหรับเซลล์สมอง

         เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Stroke) เลือดจะถูกขัดขวางการนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง และอาจส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนกลายเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตได้ โดยจากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่แล้วโรคหลอดเลือดสมองตีบจะเกิดขึ้นที่ซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา นั่นหมายความว่า ผู้ที่ถนัดขวามีแนวโน้มมากขึ้นที่จะได้รับผลกระทบหลังจากเกิดอาการสมองตีบตัน

การผ่าตัดสมองไม่เจ็บปวด

          หลายคนอาจเคยเห็นคลิปของผู้ป่วยหญิงที่เล่นไวโอลินขณะที่ศัลยแพทย์กำลังทำการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง และคิดว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องแปลกประหลาด และเกิดคำถามมากมาย แต่การตื่นขึ้นในระหว่างการผ่าตัดสมองเป็นเรื่องปกติ

          บ่อยครั้งที่การผ่าตัดสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว การพูด หรือการมองเห็น จะกำหนดให้ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการทำการผ่าตัดและอยู่ภายใต้ยาระงับความรู้สึก (Anesthetics) ตื่นขึ้นมาเพื่อประเมินการทำงานตามฟังก์ชันข้างต้น อาจจะเป็นเรื่องแปลกที่การผ่าตัดสมองไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด นั่นเป็นเพราะสมองไม่มีตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดที่เรียกว่า nociceptor แต่ส่วนที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวด คือ แผลที่เกิดขึ้นผ่านผิวหนัง กะโหลกศีรษะและเยื่อหุ้มสมอง (meninges)

ความเสียหายของสมองสามารถเปลี่ยนเราเป็นคนใหม่

          หลายกรณีที่ทำให้มนุษย์ได้เรียนรู้สมองมากขึ้นมักจะเกิดมาจากความผิดพลาด หนึ่งในกรณีที่โด่งดังคือ ฟิเนียส์ พี. เกจ (Phineas P. Gage) ซึ่งเป็นหัวหน้าคนงานก่อสร้างทางรถไฟชาวอเมริกัน ได้รับบาดเจ็บจากการระเบิดหิน และมีแท่งเหล็กขนาดใหญ่พุ่งทะลุผ่านกะโหลกศีรษะ ทำลายสมองกลีบหน้าด้านซ้าย แม้เขาจะรอดชีวิต แต่ความเสียหายจากการบาดเจ็บส่งผลต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมของเขา และเปลี่ยนเขาให้กลายเป็นคนหยาบคายและวู่วาม กรณีดังกล่าวแสดงให้นักวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 19 เห็นว่า ความเสียหายที่กลีบสมองส่วนหน้าสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพอย่างมีนัยสำคัญ

          นอกจากนี้ผู้ป่วยที่สูญเสียการมองเห็นจากความเสียหายของสมองกลีบท้ายทอย ไม่ว่าจะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เนื้องอก หรือโรคสมองตีบ อาจยังคงสามารถรักษาให้อยู่ในสภาวะเห็นทั้งบอด หรือที่เรียกว่า blindsight ซึ่งผู้ที่อยู่ในสภาวะนี้อาจยังสามารถตรวจจับข้อมูลภาพและนำทางไปรอบ ๆ สิ่งกีดขวางได้แม้จะสูญเสียการมองเห็น อย่างไรก็ดีสภาวะนี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้วยเช่นกัน

แหล่งที่มา

Vishnumurthy Shushrutha Hedna,Aakash N Bodhit,Saeed Ansari,Adam D Falchook, Latha Stead,Kenneth M Heilman and Michael F Watersa.(2013).Hemispheric Differences in Ischemic Stroke: Is Left-Hemisphere Stroke More Common?.J Clin Neurol; 9(2): 97–102. Retrieved April 7, 2020, From https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3633197/

ADAM TAYLOR,(2020, March 7),Five Amazing Facts About Your Brain That You Probably Don't Know. Retrieved April 7, 2020, From https://www.sciencealert.com/five-amazing-facts-about-your-brain

การตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงในสมอง (Transcranial Doppler Ultrasound). สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2563. จาก https://www.phyathai.com/article_detail/2401/th/การตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงในสมอง_(Transcranial_Doppler_Ultrasound)

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สมอง, การทำงานของสมอง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 07 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11470 เรื่องของสมองที่คุณอาจยังไม่รู้ /article-biology/item/11470-2020-04-21-07-12-17
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ความแตกต่างของความเศร้ากับความซึมเศร้า
ความแตกต่างของความเศร้ากับความซึมเศร้า
Hits ฮิต (13615)
ให้คะแนน
ในขอบเขตของอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่ค่อนข้างกว้าง ความเศร้าเป็นหนึ่งในอารมณ์ที่รับมือได้ยาก ทั้ง ...
โดปามีน สารควบคุมอารมณ์และความรู้สึก
โดปามีน สารควบคุมอารมณ์และความรู้สึก
Hits ฮิต (36008)
ให้คะแนน
หากย้อนเวลากลับไปในช่วงคริศต์ศักราช 1923 จะพบว่า... โลกนี้ได้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งม ...
‘ข้าวไทย’หลากชนิดพิชิตโรค
‘ข้าวไทย’หลากชนิดพิชิตโรค
Hits ฮิต (19965)
ให้คะแนน
‘โรคเบาหวาน’ เป็นหนึ่งในโรคประจำตัวที่คนไทยป่วยกันมาก สาเหตุหนึ่งมาจากพฤติกรรมการกิน โดยเฉพาะอาหารร ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)